top of page

       โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยการศึกษาปทุมวัน ตั้งขึ้นวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2496 โดยดำริของ ม.ล.ปิ่น  มาลากุล มีวัตถุประสงค์ให้โรงเรียนเป็นห้องปฏิบัติการฝึกสอนของนิสิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน  เมื่อเริ่มเปิดการสอนครั้งแรก เปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ 1 และมัธยมปีที่ 4 มีอาจารย์เต็มสิริ บุณยสิงห์ เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก และอาจารย์รุ่นแรก ดังนี้ คือ อาจารย์เกษร ผดุงรศ สอนภาษาอังกฤษ อาจารย์สมชัย หงษ์ทองคำ สอนวิทยาศาสตร์ อาจารย์สมหมาย ขจรทรัพย์ เป็นนายทะเบียน

      ระยะแรกที่ตั้งโรงเรียนใหม่ ๆ อาจารย์ มีเพียง 4 คนและนักเรียนมีแค่ 2  ชั้น    เมื่อโรงเรียนสาธิตเป็นที่นิยมของผู้ปกครองจำนวนนักเรียน และจำนวนอาจารยเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ทั้งทำการสอนนิเทศนิสิตและดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด หัวหน้าหมวดวิชาสังคมศึกษาคนแรกคืออาจารย์วลัยรัตน์ อติแพทย์ ซึ่งเป็นทั้งหัวหน้าหมวดภาษาไทยและสังคมศึกษา ต่อมาอาจารย์ผกา แสงสุวรรณ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดสังคมศึกษา ต่อจากอาจารย์วลัยรัตน์ อติแพทย์  พ.ศ. 2531 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผกา แสงสุวรรณ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ หมวดสังคมศึกษาจึงมีการเลือกตั้งหัวหน้าหมวดสังคมศึกษาใหม่ ปรากฏว่าคะแนนเท่ากัน 2  ท่าน คือ อาจารย์อาภรณ์ ชมเชิงแพทย์  และ  อาจารย์นัยนา   หงษ์ทองคำ  ดังนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผกา แสงสุวรรณ ในฐานะอาจารย์ใหญ่ จึงให้   อาจารย์อาภรณ์   ชมเชิงแพทย์ เป็นหัวหน้าหมวดสังคมศึกษาก่อนด้วยเหตุผลมีอาวุโสกว่า ภายหลังอาจารย์อาภรณ์ ชมเชิงแพทย์  ดำรงตำแหน่งครบ 2 ปี และลาออกจากราชการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผกา แสงสุวรรณ ก็ให้อาจารย์นัยนา หงษ์ทองคำ (ศุภาณัฐ) เป็นหัวหน้าหมวดสังคมศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา 

         พ.ศ. 2547 อาจารย์พิพรรธพร กาทอง  ได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าหมวดสังคมศึกษา ในปลายปี พ.ศ.2547   ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนา จูฑะพันธ์ ผู้อำนวยการเกษียณอายุราชการ   อาจารย์พิทักษ์ เสงี่ยมสิน  เข้าดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการคนใหม่     อาจารย์ พิพรรธพร กาทอง ได้รับตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมศักยภาพนักเรียน จึงต้องมีการเลือกตั้งหัวหน้าหมวดสังคมศึกษา และอาจารย์ศุภาณัฐ (นัยนา) หงษ์ทองคำ ได้รับการเลือกตั้งเป็นหัวหน้าหมวดสังคมศึกษา อีกครั้ง

 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช  2542   และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544  ได้กำหนดให้หมวดวิชาสังคมศึกษา มีสถานภาพเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  โดยมีอาจารย์ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดสังคมศึกษา และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

    1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วลัยรัตน์  อติแพทย์       

    2. รองศาสตราจารย์ผกา   แสงสุวรรณ  ( พ.ศ.  2505-2531)

    3. นางอาภรณ์   ชมเชิงแพทย์  (  พ.ศ.  2531-2533) 

    4. นางสาวศุภาณัฐ   หงษ์ทองคำ (ครั้งที่  1) (พ.ศ. 2533-2547)

    5. นายพิพรรธพร    กาทอง (ครั้งที่ 1)    ( พ.ศ. 2547 )

    6.  นางสาวศุภาณัฐ    หงษ์ทองคำ (ครั้งที่  2) (  พ.ศ.  2547-2549) 

    7. นางสาวศุภาณัฐ   หงษ์ทองคำ (ครั้งที่ ) ( พ.ศ. 2549-ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551)และเกษียณอายุราชการ

    8.  นายพิพรรธพร  กาทอง   (ครั้งที่ 2)    ภาคเรียนที่   2  ปีการศึกษา 2551  เมื่อ อาจารย์อรพินธุ์  คนึงสุขเกษม   เข้ารับตำแหน่ง ได้ลาออกตำแหน่งเมื่อปีการศึกษา  2556  ภาคเรียนที่ 2

    9.  นายเชิด   เจริญรัมย์ เข้ารับตำแหน่ง ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556  และได้หมดวาระภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558

    10.  นายอุทัย  แก้วเพชร  เข้ารับตำแหน่ง  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2558 และได้หมดวาระภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

    11.  นายวรายุทธ สายทอง เข้ารับตำแหน่ง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 หมดวาระภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

    12.  นายวรายุทธ สายทอง (ครั้งที่ 2) เข้ารับตำแหน่งภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 - ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์

คุณธรรมนำสังคมประชาธิปไตย

ส่งเสริมความรักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์ 

ดำเนินชีวิตด้วย ความซื่อสัตย์ สุจริต

และเศรษฐกิจพอเพียง 

รอบรู้สังคมโลกอย่างชาญฉลาด

พันธกิจ

        1.  ส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้อันเป็นสากลและมีความก้าวหน้าทางวิชาการ

         2.  จัดการเรียนการสอนอย่างเต็มความสามารถด้วยความซื่อสัตย์  สุจริต  ความเสียสละและความเสมอภาคทุกระดับชั้น

         3.  ยึดมั่นในศีลธรรม  การกระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงามและศรัทธาในพระพุทธศาสนา

         4.  ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีตามกฎหมาย  ประเพณี  วัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

         5.  บริการจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งการนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

         6.  ให้ความรู้ถึงพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ในแง่ความสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ นำผลมาวิเคราะห์อย่างมีระบบ

         7.  เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและมีจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

          8.  รู้จักใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์นำมาเป็นพื้นฐานในการศึกษาเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเกิดแนวความคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์ เหตุการณ์ทั้งในปัจจุบันและสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ขึ้น

bottom of page